วิธีเลือก จักรยาน คู่ใจ ปั่นแบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

จักรยานเสือหมอบ
จังหวะนี้เชื่อว่าคงมีหลายคนอยากสัมผัสสายลมแสงแดด ด้วยการหาจักรยานเท่ๆ สักคัน ปั่นไปเที่ยวให้สมใจอยาก นอกจากนั้นแล้วยังได้ออกกำลังกาย และช่วยลดโลกร้อนไปในคราวเดียวกัน แต่ก่อนจะเลือกจักรยานสักคันไว้เป็นพาหนะคู่ใจ ก็ต้องมาลองทำความรู้จักกันซะก่อน ว่าแบบไหนถึงจะใช่กับสไตล์คุณ ไหนๆ จะเสียเงินแล้วก็ต้องให้คุ้มค่าล่ะ

ก่อนอื่นเราก็ต้องรู้ก่อนว่า จักรยานนั้นมีกี่ประเภท แล้วค่อยเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน หลักๆ แล้วก็จะมีดังนี้
จักรยานทั่วไป
1. จักรยานทั่วไป (bicycles)
ว่ากันง่ายๆ มันคือจักรยานจ่ายตลาด ส่วนมากมักไม่มีเกียร์ (ก็ปั่นไปแค่ปากซอยนี่เอง) หรือถ้าซื้อดีๆ หน่อยเดี๋ยวนี้ก็มักจะมีติดมาให้อยู่แล้ว ทั้ง 3 เกียร์, 6 เกียร์ แต่สิ่งที่ยังไงก็ขาดไม่ได้ก็คือ ‘ตะแกรงหน้า’ ไว้ใส่กับข้าวนั่นแหละ จักรยานแบบนี้มักมีน้ำหนักมาก แต่ราคาก็ถูกมากเช่นกัน รุ่นแพงหน่อยก็จะมีอุปกรณ์ประกอบมาให้แบบครบครัน เช่น ไฟหน้า บังโคลน บังโซ่ อานซ้อนท้าย ฯลฯ

2. จักรยานพับ (Folding Bike)
จักรยานพับ1

จักรยานที่เหมาะกับวิถีคนเมืองสุดๆ เน้นพกพาไปใช้งานตามที่ต่างๆ พาขึ้นรถโดยสารได้สะดวก ใส่ไว้ท้ายรถก็ได้ มักใช้ปั่นในระยะทางใกล้ๆ แต่ด้วยโครงสร้างที่ต้องพับเก็บได้จึงทำให้ความแข็งแรงทนทานลดลงไป รวมถึงราคาที่แพงลิบลิ่ว (สำหรับของมือหนึ่ง)

3. จักรยานฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear)
จักรยานฟิกเกียรฺ
สุดยอดความเท่ของวัยรุ่นยุคนี้ เริ่มฮิตกันมากขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เพราะดูแลรักษาง่าย สีสันโดนใจ โครงทำจากวัสดุอย่างดี มีตั้งแต่เหล็กไฮเทนเกรดดี ไปจนถึงคาร์บอนไฟเบอร์ และโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน แต่จุดเด่นจริงๆ นั้นอยู่ที่เฟืองหลังซึ่งเป็นแบบตาย (Fixed) ติดกับล้อหลัง ไม่สามารถหมุนฟรีได้เหมือนจักรยานแบบอื่น การขี่จึงต้องหมุนขาอยู่ตลอดเวลา หยุดคือหยุด การเบรคต้องใช้เท้าฝืนหรือการรั้งล้อหลังเท่านั้นรถจึงจะหยุด ฉะนั้นคนที่ขี่จักรยานชนิดนี้ต้องมีการฝึกฝน และใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

4. จักรยานเสือภูเขา (Mountain Bike)
จักรยานMTB
สมบุกสมบันต้องคันนี้ ออกแบบมาเพื่อการขี่ขึ้นเขาลงห้วยโดยเฉพาะ มีระบบกันสะเทือนหรือ ‘โช้คอัพ’ โครงสร้างแข็งแรง ยางล้อใหญ่ และหนา มีระบบเกียร์ให้เลือกตั้งแต่ 10-27 สปีด นอกจากจะใช้งานสมบุกสมบันแล้วยังใช้เป็นจักรยานท่องเที่ยวได้ด้วย

ด้วยความอเนกประสงค์ของมัน จึงมีจักรยานลูกผสมอีกแบบออกมา ชื่อว่า ‘ซิตี้ไบค์'(City Bike) สำหรับขี่ในเมืองโดยเฉพาะ ลักษณะคล้ายเสือภูเขา แต่ยางล้อจะเล็กกว่า ดอกยางไม่ลึก เปลืองแรงน้อยกว่า

5. จักรยานเสือหมอบ (Road Bike)
จักรยานเสือหมอบ1
ออกแบบมาเพื่อการขับขี่ทางเรียบโดยเฉพาะ แข็งแรง น้ำหนักเบา หน้าตาคล้ายจักรยานแข่งขัน จุดเด่นอยู่ที่การแทรกตัวผ่านอากาศด้วยท่าทางการขี่ ที่ต้องก้มตัวต่ำเพื่อเพิ่มความเร็ว แบบที่เราเห็นในการแข่งขันรายการระดับโลกอย่างตูร์ เดอ ฟรองซ์ (Tour De France) ใช้เป็นจักรยานออกกำลังหรือขี่ท่องเที่ยวก็ได้ แต่เหมาะกับทางเรียบเท่านั้น

6. จักรยานไฮบริด (Hybrid Bike)
จักรยานไฮบริด
ดึงเอาจุดเด่นของจักรยานเสือภูเขา และจักรยานเสือหมอบเข้าด้วยกัน โดยใช้ท่านั่งที่สบายแบบเสือภูเขา ใช้ล้อขนาดเดียวกับเสือหมอบ มีความคล่องตัวสูง แข็งแรงทนทาน สามารถนำชุดเกียร์ของเสือหมอบ และเสือภูเขามาใส่ด้วยกันได้ แล้วแต่ลักษณะการใช้งาน

หลังจากรู้จักกับจักรยานแต่ละประเภทกันไปแล้ว ต่อไปนี้คืออุปกรณ์สำคัญสำหรับสิงห์นักปั่นทั้งหลาย ทั้งมือใหม่หรือมือโปร เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยทุกเส้นทาง
ไฟหน้าและไฟท้าย
– ไฟส่องสว่าง หรือแผ่นสะท้อนแสง ในเวลาออกเดินทางบางครั้งการกินเวลาจนถึงมืดค่ำ ลำพังเพียงแสงบนท้องถนนอาจไม่เพียงพอ ไฟส่องสว่าง หรือแผ่นสะท้อนแสงจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อบอกให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรู้ว่ามีจักรยานปั่นอยู่

แว่นตาจักรยาน
– แว่นตา เศษหิน ดิน ทราย ตามท้องถนนนั้นอันตรายกว่าที่เราคิดมาก หากปลิวเข้าตาอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ การใส่แว่นจึงช่วยเพิ่มความปลอดภัย ให้เลือกซื้อแว่นตาขี่จักรยานโดยเฉพาะ เพราะมีการออกแบบให้มีความทนทาน เลนส์ทำจากพลาสติกเหนียว ป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต ลดอาการล้าทางสายตาเมื่อต้องปั่นกลางแจ้งเป็นเวลานาน

หมวกกันน็อคจักรยาน
– หมวกกันน็อค มีความสำคัญมากที่สุด ช่วยลดแรงกระแทกบริเวณกระโหลกให้น้อยที่สุด โดยมีให้เลือกหลายชนิดตามการใช้งาน เช่น หากเราขี่จักรยานที่ไม่ต้องสมบุกสมบันนักก็ควรใช้หมวกนิรภัยแบบ sport หรือหากเราขี่เสือหมอบ ก็ต้องใช้แบบ Road Bike ที่มีน้ำหนักเบา รูปทรงเพรียวลม ส่วนใครที่ชอบขับแบบลุยป่าก็ต้องเป็นแบบ Mountain Bike เพราะสามารถป้องกันได้ทุกสัดส่วน การเลือกหมวกกันน็อคจะต้องเลือกที่พอดีหัว ไม่คับ ไม่กดหัว และไม่หลวมจนคลอนไปมา

*ข้อกฏหมายควรรู้สำหรับผู้ขี่จักรยาน*

มาตรา 83 ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จักรยาน

1. ขับโดยประมาท น่าหวาดเสียว อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

2. ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ

3. ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน

4. ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ

5. ขับโดยบรรทุกบุคคลอื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อสำหรับบรรทุกคน

6. บรรทุกหรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจับคันบังคับรถหรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

7. เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://travel.trueid.net

Related posts

Leave a Comment